
ในการแถลงข่าวของ มิเกล อาร์เตต้า ผู้จัดการทีมอาร์เซน่อล เป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก บ่อยครั้งที่เขาตอบคำถามนักข่าวแบบตรงไปตรงมา และบางครั้งเขาก็ก็เจาะลึกเข้าไปในประเด็นที่น่าสนใจมากขึ้น อย่างในการให้สัมภาษณ์ก่อนเกมส์ที่จะเปิดบ้านพบกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
"เราหารือกันเกี่ยวกับจัดแผนการเล่นในวิธีแตกต่าง" อาร์เตต้าตอบคำถาม หลังจากถูกถามเกี่ยวกับการจัดทัพของเขา
"วันก่อน (กับฟูแล่ม) มี 36 รูปแบบที่แตกต่างกันในเกมส์ การพบกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ (คอมมูนิตี้ ชิลด์) ใช้ 43 รูปแบบ ผมไม่ทราบว่าเรากำลังพูดถึงรูปแบบไหน สำหรับผมมันมีบางอย่างที่แตกต่างไปจากสิ่งที่คุณเห็น"
หลายคนอาจต้องสงสัยกับจำนวนรูปแบบที่อาร์เตต้าอ้างถึง แต่บางทีเราอาจจะมองข้ามประเด็นสำคัญไป ผู้จัดการทีมพยายามจะบอกว่าเรากำลังให้ความสำคัญไปที่การจัดแผนการเล่นากเกินไป และภายในสโมสร อาจจะสามารถแยกแยะระหว่างโครงสร้างต่างๆ เหล่านั้นด้วยเทคโนโลยีที่พวกเขามี แต่เราไม่สามารถแยกแยะแบบนั้นได้
อาร์เตต้า ใช้การเปรียบเทียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเดินทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาเดินทางไปที่ศูนย์ฝึกลอนดอน โคลนี่ย์ในทุกเช้า เพื่อเน้นย้ำประเด็นของเขา ก่อนที่จะบอกว่า: "ทุกคน ทุกเกมส์มีเรื่องราวที่แตกต่างกัน"
ที่นี่เรามาดูกันว่าเหตุใด้อาร์เตต้า จึงยืนกรานว่าทำไมเขาถึงไม่ส่งแผนที่มีความตายตัวให้กับลูกทีมของเขา และมันแสดงออกมาในรูปแบบต่างในฤดูกาลนี้ ธีมหลักของวิธีการเล่นของอาร์เซน่อลมีความสอดคล้องกัน และมีความชัดเจนในทุกนัดที่พวกเขาลงเล่น
สามนาทีแรกของฤดูกาล (พบกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในคอมมูนิตี้ ชิลด์) เป็นข้อพิสูจน์ในเรื่องนั้น ฤดูกาลที่แล้ว อาร์เซน่อลพยายามเผชิญหน้าแบบตัวต่อตัวกับทีมของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า และไม่สามารถที่จะรักษาระดับการแข่งขันเอาไว้ได้ตลอด 90 นาที ครั้งนี้พวกเขาใช้วิธีแนวทางที่แตกต่างที่เวมบลีย์
ตำแหน่งเริ่มต้นในการเพลสของพวกเขามีความดุดันมากกว่าปกติ กับไค ฮาแวร์ตซ์ (ที่เล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าในวันนั้น) และมี เดแคลน ไรซ์ กับมาร์ติน โอเดการ์ด เป็นตัวสนับสนุน เมื่อฮาแวร์ตซ์ขยับเข้าไปกดดันที่บอล ไรซ์ และโอเดการ์ด ก็ขยับเข้ามาตามประกบคู่กองกลางของซิตี้ (โรดตี้ และมัตเตโอ โควาซิซ)


ขณะที่ซิตี้ พยยามที่จะจ่ายบอลตัดไลน์ของอาร์เซน่อล กาเบรียล มากัลเญส จะดันขึ้นมาจากตำแหน่งเซนเตอร์แบ็ค เพื่อบีบกดดันใส่ ยูเลี่ยน อัลวาเรซ เพื่อบีบให้เขาจ่ายบอลคืนกลับไปในแดนของตัวเอง หรือไม่ก็ยอมตัดฟาล์ว ทั้งหมดคือโทนของเกมส์ในช่วงบ่ายวันนั้นที่เวมบลีย์
จุดประสงค์คือการควบคุมซิตี้ โดยการปิดกั้นเส้นทางใดๆ ก็ตามที่จะขึ้นไปข้างหน้าผ่านตรงกลางของสนาม โครงสร้างทั้งหมดเราอาจไม่สามารถมองเห็นได้ แต่มันยังคงเป็นรูปแบบ 4-3-3 เวลาที่ไม่ได้ครองบอล โดยมีปาร์เตย์ยังคงยืนอยู่ต่ำที่สุดในแผงกลาง และฮาแวร์ตซ์ ยืนค้ำอยู่ด้านบนสุด

เมื่อซิตี้ สามารถส่งบอลไปที่ตำแหน่งกองกลางได้ รูปแบบโครงสร้างจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเล้กน้อย เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น
แมนเชสเตอร์ ซิตี้ พยายามที่จะหลบเลี่ยงจาก 3 ประสานในการเพลสซิ่งแดนบนของอาร์เซน่อล ด้วยการตามหา จอห์น สโตน อีกครั้ง ทีมของอาร์เตต้ามีการตอบสนองที่แตกต่างไปเล็กน้อย ไรซ์รับรู้ว่าโรดรี้จะขยับลงต่ำไปรับบอล แต่เขาเลือกที่จะไม่ตามโรดรี้ไป
เขาถอยกลับไปประจำตำแหน่งตรงแดนกลางเหมือมเดิม ขณะที่โรดรี้กำลังจะพาบอลขึ้น อาร์เซน่อลกลับเปลี่ยนมายืนเป็นแบบ Compact 4-4-2 ไรซ์ยืนคู่กับปาร์เตย์ตรงกลาง โดยมีบูคาโญ ซาก้า กับกาเบรียล มาร์ติเนลลี่ ยืนอยู่ด้านข้าง ฮาแวร์ตซ์ และโอเดการ์ด เข้าไปกดดันคนที่มีบอลด้านบน


ซิตี้พยายามที่จะโจมตีทางกราบขวา แต่ซาก้า ขยับเข้ามาหาบอล และบีบให้ซิตี้ต้องจ่ายบอลคืนหลัง โอเดการ์ด และฮาแวร์ตซ์ ขยับเข้าบีบ โดยเราจะสังเกตุเห็น เดแคลน ไรซ์ ขยับเติมขึ้นมาช่วยบีบสูงอีกครั้ง จังหวะนี้จบด้วย สเตฟาน ออร์เตก้า ผู้รักษาประตูของซิตี้ต้องเตะบอลยาวขึ้นหน้า


รูปแบบบางอย่างที่เราเห็น ไม่ใช่สิ่งใหม่ การยืนป้องกันแบบ 4-4-2 เป็นหนึ่งในรูปแบบที่อาร์เตต้าใช้มาตั้งแต่ฤดูกาล 2020/21 แต่ความเร็วเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ไรซ์ ถือเป็นจุดสำคัญ เขาสามารถปรับเปลี่ยนจากโครงสร้างหนึ่ง ไปยังอีกโครงสร้างได้อย่างรวดเร็ว
อย่างที่เราเห็นในตัวอย่างข้างต้น ในตอนแรกไรซ์ ขึ้นไปช่วยเพลสซิ่งด้านบนในรูปแบบสามง่าม ก่อนที่จะถอยกลับมายืนเป็น Compact แบบ 4-4-2 แล้วก็สามารถขยับกลับขึ้นไปร่วมเพลสซิ่งได้อีกครั้ง
เมื่อเป็นการตั้งรับแนวลึก อาร์เซน่อลจะยืนกระชับพื้นที่มากขึ้น กับซาก้า และมาร์ติเนลลี่ ที่เล่นเสมือนเป็นผู้เล่นวิงแบ็ค แน่นอนว่าไม่ใช่วิธีการที่พวกเขาใช้ตลอดทั้งเกมส์ แต่ช่วยทำให้พวกเขาถูกเจาะทะลวงได้ยากขึ้น แบบครึ่งหลังในเกมส์บุกชนะท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ 2-0 เมื่อฤดูกาลก่อน
ซาก้า จะถางออกมาเพื่อป้องกันการเล่นแบบสวิตซ์ข้ามฝั่ง ขณะที่ผู้เล่นที่เหลือของอาร์เซน่อลยังคงยืนกันแบบเป็น Compact ในรูปแบบนี้ อาร์เซน่อลดูเหมือนจะเล่นในโครงสร้างแบบ 5-1-4 แล้วในอีก 9 วินาทีถัดมา เมื่อสเปอร์ขึ้นเกมส์ทางฝั่งซ้าย โครงสร้างของอาร์เซน่อลจะปรับเปลี่ยนเป็น 6-1-3 ในชั่วขณะหนึ่ง


การผสมผสานโครงสร้างการป้องกัน นั่นเป็นกุญแจสำคัญในความก้าวหน้าของอาร์เซน่อลในช่วง 2-3 ฤดูกาลที่ผ่านมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และอิสระในโครงสร้างทำให้พวกเขาสามารถใช้พื้นที่ต่างๆ ในสนามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาร์เซน่อลเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในฤดูกาล 2021/22 อาร์เซน่อลใช้แท็กติก 4-2-3-1 เป็นส่วนใหญ่ในปีนั้น แต่บทบาทของ กรานิต ชาคา ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป เขาได้รับอิสระในการขึ้นไปช่วยเติมเกมส์รุป ทำให้อาร์เตต้าเปลี่ยนมาใช้ระบบ 4-3-3 บ่อยขึ้น หลายคนเริ่มเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเมื่อได้ โอเล็กซานเดอร์ ชินเชนโก้ มาเล่นในตำแหน่ง Inverted fullback ในฤดูกาล 2022/23 เป็นการยกระดับอาร์เซน่อลขึ้นไปอีกขั้น

อาร์เซน่อลขับเคลื่อนด้วยคุณลักษณะที่ชัดเจน มีการเคลื่อนที่มากมาย และทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ ชินเชนโก้ และเบน ไวท์ มีการพาบอลขึ้นหน้าที่แตกต่างกันในตำแหน่งแบ็คซ้ายและแบ็คขวา โธมัสป ปาร์เตย์ สามารถควบคุมบอลได้ง่ายขึ้นตรงกลางสนาม และอาร์เซน่อลสามารถปล่อยผู้เล่น 5 คนวิ่งไปข้างหน้า นั่นทำให้ประสิทธิภาพในการยิงประตูของพวกเขา ก้าวกระโดดจากปีก่อนๆ อย่างชัดเจน
เราได้เห็นโครงสร้างเวลาขึ้นเกมส์บุกของพวกเขาจะเป็น 2-3-5 หรือบางครั้งก็อาจจะกลายเป็น 2-2-6 เมื่อเบน ไวท์ เติมขึ้นมา Overlap ช่วยซาก้าทางฝั่งขวา ซึ่งเราได้เห็นการขึ้นเกมส์บุกแบบนี้ของพวกเขาอีกครั้งในช่วงครึ่งเวลาหลังที่พบกับฟูแล่ม และเกมส์ชนะยูไนเต็ด 3-1 เหตุผลหลักคือการได้ชินเชนโก้กลับมา
นาทีที่ 2 vs แมนยูไนเต็ด
จังหวะบุกครั้งแรกของอาร์เซน่อลในเกมส์นี้ เกิดขึ้นทางฝั่งซ้าย ซึ่งเราก็เข้าใจได้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะชินเชนโก้อยู่ฝั่งนี้ เขานำบอลลงแล้วส่งกลับไปให้กับผู้เล่นกองหลังของทีม หลังจากนั้นเขาตัดสินใจ ขยับตัวเองมายังพื้นที่ฝั่งขวา อยู่ในรูปแบบ 3-2 ที่คุ้นเคยสำหรับอาร์เซน่อล เป็นสิ่งที่ชินเชนโก้ทำอยู่หลายครั้งเมื่อฤดูกาลที่แล้ว
อาร์เซน่อลไม่สามารถขึ้นเกมส์ทางกราบขวาได้ ทำให้บอลกลับมาอยู่ที่ชินเชนโก้อีกครั้ง เขาเลือกตวัดบอลเข้ากลางไปที่เอ็นเคเทียห์ที่อยู่ตรงกลาง ขณะที่ไวท์ก็เติมขึ้นไปสนับสนุนเกมส์รุก นี่ก็เป็นรูปแบบ 2-2-6



นาทีที่ 11 vs แมนยูไนเต็ด
ชินเชนโก้ ขยับเข้ามาตรงกลางในจังหวะนี้ ไรซ์เข้าไปแทนตำแหน่งของ วิลเลี่ยม ซาลิบา ตรงเซนเตอร์แบ็ค และกาเบรียล ฉีกตัวออกไปทางซ้าย ไรซ์จ่ายบอลเข้ามาตรงกลางให้กับ ชินเชนโก้ ที่อยู่ในพื้นที่ว่าง เขามีทั้งเวลาและพื้นที่ที่จะเล่นกับบอล เอ็นเคเทียห์ วิ่งแบบไม่มีบอลในการดึงความสนใจของ คริสเตียน อิริคเซ่น และเปิดพื้นที่ว่างสำหรับโอเดการ์ด
ก่อนที่โอเดการ์ด จะจ่ายขึ้นไปให้กับซาก้า ที่รับบอลอยู่ในแดนของยูไนเต็ด ลำดับการจ่ายบอลแบบนี้เราได้เห็นกันในช่วงครึ่งหลังในเกมส์กับฟูแล่ม เมื่อชินเชนโก้ลงสนามมาในฐานะตัวสำรอง



นาทีที่ 27 vs แมนยูไนเต็ด
ชินเชนโก้ เล่นบอลอยู่ตรงกลางสนาม โดยมีผู้เล่นแมนยูไนเต็ด 4 คนล้อมรอบ ดังนั้นเขาเลือกจ่ายบอลง่ายๆ กลับไปให้กับไรซ์ อีกครั้งที่เห็นกาเบรียลขยับออกไปทางซ้าย แต่สังเกตตำแหน่งของฮาแวร์ตซ์ เขายืนว่างอยู่บริเวณริมเส้น

อาร์เซน่อล พยายมที่จะเล่นในรูปแบบเดิมกันนี้ในอีก 12 นาทีต่อมา และครั้งนี้มันเวิร์ก เป็นกาเบรียลที่ได้บอลในจังหวะนี้ ฮาแวร์ตซ์ กับถูกประกบด้วยบล็อกผู้เล่นของยูไนเต็ด และชินเชนโก้ กับมาร์ติเนลลี่ ยืนว่างอยู่ทางฝั่งซ้าย
กาเบรียล เลือกจ่ายบอลทะลุตัดไลน์ไปให้กับมาร์ติเนลลี่ เขาเล่นซิ่งเร็วไปให้กับชินเชนโก้ ก่อนที่ชินเชนโก้ จะฝากบอลเข้ากลางให้เอ็นเคเทียห์ ซึ่งก็จ่ายเร็วต่อไปให้กับมาร์ติเนลลี่ที่เข้าสู่พื้นที่กรอบเขตโทษของยูไนเต็ด เขาลากผู้เล่นของยูไนเต็ดเข้ามา ก่อนจะจ่ายเข้ากลางให้ โอเดการ์ด ยิงตีเสมอ 1-1

ยังมีตัวอย่างอีกมากมายในเกมส์ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของอาร์เซน่อล ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้เราเข้าใจบริบทประเด็นที่อาร์เตต้าต้องการที่จะสื่อออกมา
เราอาจไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด ของรายละเอียดของทั้ง 36 หรือ 43 รูปแบบ แต่เราได้เห็นโครงสร้างที่มีความแตกต่างกันประมาณ 6 รูปแบบที่อาร์เซน่อลใช้ทั้งในเวลาที่ได้ครอบครองบอล และไม่ได้ครอบครองบอล แต่ประเด็นที่สำคัญคือ ความสามารถของผู้เล่นอาร์เซน่อล ที่จะมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะตอบสนองกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสนาม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะบางสิ่งก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกวางแผนเอาไว้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ถือเป็นเป้าหมายสูงสุด