Jump to content




Sign in to follow this  
admin

[Tactic Analysis] ตามทฤษฏีอาร์เตต้า!! "ไวท์-ซาก้า" คู่หูสุดอันตรายในเกมส์รุกฝั่งขวาปืนใหญ่

Recommended Posts

Saka-White-Arsenal-attack-1024x683.jpg
 
 
มิเกล อาร์เตต้า เคยพูดเอาไว้กับนักเตะเยาวชน ระหว่างการประชุมการฝึกสอนกับสมาคมฟุตบอลเวลส์ในปี 2017 "ผมไม่ชอบการสร้างเส้นตรงระหว่างผู้เล่นริมเส้น" ขณะที่บนหน้าจอเขากำลังอธิบายว่าทำไมเขาถึงต้องการเปลี่ยนมุมการรับส่งบอลแบบดั้งเดิม ระหว่างฟูลแบ็คกับปีก

"ทำไมล่ะ? เพราะฟูลแบ็คจ่ายขึ้นไปตรงๆ ให้กับผู้เล่นตำแหน่งปีก เมื่อรับบอลเขาจะหันหลังให้กับประตู และไม่สามารถพาบอลขึ้นหน้าไปได้ เมื่อมีคู่แข่งอยู่ด้านหลัง แต่เมื่อคุณจ่ายบอลเป็นแนวทแยงมุม ปีกจะสามารถเอาบอลไปเล่นต่อได้ทันที"
 
ตอนนี้สิ่งที่เขาได้พูดในตอนนั้น กลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับริมเส้นฝั่งขวาของอาร์เซน่อลในฤดูกาล อย่างประตูนำ 2-0 ของบูคาโญ ซาก้า ในเกมส์กับคริสตัล พาเลซ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เป็นอีกครั้งที่เราได้เห็นวิธีการจ่ายบอลแบบนั้น 
 
export-2023-03-20T172301.343.png
 
export-2023-03-20T172356.776.png
 
export-2023-03-20T172212.608.png
 
export-2023-03-20T172237.099.png
 
บูคาโญ ซาก้า เป็นผู้เล่นคีย์แมนของอาร์เซน่อล และการป้อนบอลให้เขาในลักษณะที่ทำให้เขาได้ คือ กุญแจสำคัญที่จะทำให้เขามีผลกระทบต่อเกมส์ และตอนนี้ทุกทีมมีความกังวลในการดวลตัวต่อตัวกับเขามากขึ้นเรื่อยๆ 
 
ตัวอย่างด้านล่างในเกมส์ที่พบกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นสิ่งที่อาร์เตต้า ไม่ต้องการ เมื่อไวท์เห็นซาก้ากำลังวิ่งเข้ามารับบอล และเลือกจ่ายไปตรงๆ แต่ลุค ซอว์ ได้อ่านสถานการณ์และสามารถบีบซาก้าได้ทันที แม้ว่าจะลงเอยด้วยการที่ซอว์ไปทำฟาล์วใส่ซาก้า แต่ไม่ใช่สถานการณ์ในอุดมคติของอาร์เตต้า เพราะมันเป็นการหยุดการเล่นเกมส์รุก และเปิดโอกาสให้แนวรับของยูไนเต็ดได้มีการจัดตำแหน่งการยืนกันใหม่
 
 
export-2023-03-20T171831.138.png
 
export-2023-03-20T171855.850.png
 
export-2023-03-20T171908.671.png
 
 
ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมอาร์เตต้า ถึงไม่อยากให้ซาก้าตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ แต่เขาต้องการให้ ไวท์ ชะลอการส่งบอลจนกว่าช่องการจ่ายบอลจะปรากฏขึ้น แล้วซาก้าหมุนตัววิ่งเข้าไปด้านใน จากนั้นไวท์ก็จะจ่ายเป็นแนวทแยงเพื่อให้เขาวิ่งมารับบอลด้วยเท้าซ้ายที่เขาถนัด มันเปิดพื้นที่ทั้งสนามและทำให้เขามีช่องว่างในการเล่นเกมส์รุก ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กองหลังของคู่แข่งยากที่จะรับมือ
 
นี่คือสิ่งที่อาร์เตต้ามองหา อย่างในเกมส์กับเลสเตอร์ ซิตี้ เมื่อโอเดการ์ดได้รับบอลจากจอร์จินโญ่ เขาจ่ายบอลทแยงไปให้กับซาก้า ที่ขยับเข้าด้านใน เมื่อเขาได้รับบอลจากโอเดการ์ด และเขาสามารถจ่ายบอลสวิตซ์ไปฝั่งซ้ายให้กับชาคา โดยที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามากดดันเข้าได้
 
 
 
export-2023-03-20T173733.772.png
 
export-2023-03-20T173751.115.png
 
ไวท์ และซาก้า ลงเล่นด้วยกัน 2,088 นาทีร่วมกันในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาลนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขามีความสำคัญเพียงใด เราจะเห็นว่าไวท์มีการจ่ายบอลให้กับซาก้ามากกว่าเพื่อนร่วมทีมคนอื่น โดยเขาผ่านบอลสำเร็จ 334 ครั้ง ซึ่งเป็นเส้นสีแดงตามภาพด้านล่าง
 
white_to_saka_passmap.png
 
นั้นคือค่าเฉลี่ย 14.4 ครั้งจากไวท์ไปที่ซาก้าต่อ 90 นาที โดยคนที่จ่ายบอลให้กับซาก้าเฉลี่ยรองลงมาคือ 9.5 ครั้ง และมาร์ติน โอเดการ์ด 7.0 ครั้ง เมื่อดูแผนผังการจับบอลของไวท์ด้านล่าง ก็แสดงให้เห็นว่าเขาผสมผสานการเคลื่อนที่ในการโจมตีของเขาอย่างไร ซึ่งปกติแล้วเขาจะชอบที่จะ Overlap ขึ้นไป แต่ก็มีขยับเข้าไปข้างในเพื่อประสานงานกับซาก้า
 
ben_white_all_games_for_arsenal_in_the_p
 
ในการเจอกับวูลฟ์แฮมตันเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีก่อน ไวท์จ่ายบอลให้กับซาก้า 27 ครั้ง การประสานงานของทั้งคู่แบบโดยตรงสร้างโอกาส 7 ครั้งในฤดูกาลนี้หรือ 0.3 ครั้งต่อ 90 นาที และมีผลกับการเคลื่อนที่ที่หลากหลาย ที่ทำให้ซาก้าสามารถทำผลงานได้อย่างโดดเด่น
 
ในตัวอย่างเกมส์กับท็อตแน่ม ฮอตสเปอร์ ไวท์เห็น ซาก้า อยู่ตรงบริเวณริมเส้น แต่เขาชะลอ จนเห็นว่า เซสเซยอง กำลังจะขยับเข้าไปใกล้กับซาก้า แล้วก็ก็จ่ายทแยงเข้าด้านใน ซึ่งซาก้าก็วิ่งไปรับบอล เปิดทางให้ซาก้าได้สามารถพาบอลพุ่งเข้าไปในกรอบเขตโทษของคู่แข่ง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อันตรายไม่ว่าจะเจอกับทีมไหนก็ตาม 
 
 
export-97-2.png
 
export-98-1.png
 
export-99.png
 
export-100-2.png
 
 
เมื่อเทียบระหว่างไวท์กับโทมิยาสุ ในตำแหน่งแบ็คขวา ไวท์สามารถ Overlap ขึ้นไปเมื่อสร้างความสับสนให้กับคู่แข่ง ขณะที่โทมิยาสุ มักจะเล่นอยู่ด้านหลังแล้วปล่อยให้ซาก้า เล่นแบบ Isolate ซึ่งไวท์จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าในการวิ่งทั้งแบบ Underlap หรือ Overlap 
 
อย่างในเกมส์กับเบรนท์ฟอร์ด ที่เป็นประตูขึ้นนำ 1-0 ของอาร์เซน่อล เขาวิ่ง Overlap ขึ้นมา แต่ซาก้าไม่มีมุมที่จะจ่ายบอลให้กับเขา ดังนั้นจึงเลือกจ่ายเข้าในให้กับโอเดการ์ด ขณะที่ไวท์ วกกลับมาจากตำแหน่งล้ำหน้า ตัวประกบก็ต้องระแวงกับไวท์ เป็นการเปิดช่องว่างให้กับ ซาก้า ได้วิ่งสอดขึ้นมา โอเดการ์ดจ่ายบอลทะลุช่อง ก่อนที่ซาก้าจะเปิดเร็วไปที่เสาสองให้ ทรอสซาร์ ชาร์จบอลเข้าไปตุงตาข่าย

 



 
export-89-1.png
 
export-86-1.png
 
export-87-1.png
 
export-88-1.png
 
 



การเล่นของซาก้า เขาไม่ได้ปักอยู่ริมเส้นตลอดเวลา บ่อยครั้งที่เราได้เห็นเขาขยับเข้ามาด้านในของ Half Space เป็นการปั่นป่วนรูปแบบเกมส์ป้องกันของคู่แข่ง อย่างในเกมส์ที่เจอกับฟูแล่มที่เอมิเรสต์ เมื่อต้นฤดูกาล และแสดงให้เห็นเขากลายเป็นตัวเลือกในการจ่ายบอลจากแนวรับได้

เมื่อ วิลเลี่ยม ซาลิบา พาบอลขึ้นมาตรงกลางสนาม ไวท์ขยับขึ้นสูงที่ริมเส้นด้านนอก ทำให้ อันโตนี่ โรบินสัน แบ็คของฟูแล่มที่เป็นคู่ประกบกับชาก้า ต้องเริ่มขยับไปตามประกบไวท์ ตำแหน่งของไวท์สามารถเปิดช่องว่างได้ ซาลิบาจ่ายบอลเข้ามาให้กับซาก้า และเขาหมุนตัวพลิกบอล ก่อนที่อาร์เซน่อลจะได้ประตูตีเสมอ 1-1 ในอีกไม่กี่วินาทีถัดมา
 
export-90-1.png
 
export-91-1.png
 
export-92-1.png
 
การหลอกล่อและทิศทางการวิ่งที่แตกต่างของไวท์ และซาก้า ตามทฤษฏีของอาร์เตต้า ทำให้เขาพวกเขาเป็นหนึ่งในคู่หูในเกมส์รุกที่อันตรายมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก

 

 

 

Share this post


Link to post
Share on other sites




 Hi88    สล็อตเว็บตรง    สล็อตเว็บตรง    คาสิโน  

สล็อต PGSLOT350   สล็อต PGSLOT920   สล็อต PGSLOT699   สล็อจโจ๊กเกอร์ JOKER350   ซื้อหวย 24 ชั่วโมง   ดูบอลสด 



บ้านผลบอลวันนี้ Ball7m | ผลบอลสด Bankeela

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...